ชิปปิ้ง Internet of Things สร้างเมืองอัจฉริยะได้อย่างไร

ชิปปิ้ง Internet of Things สร้างเมืองอัจฉริยะได้อย่างไร-Redlogistics ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง Internet of Things สร้างเมืองอัจฉริยะได้อย่างไร                       Internet of Things                                                                                      Redlogistics 768x402

ชิปปิ้ง จากการเข้ามาของเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้เกิดการปฏิวัติโลกอย่างรวดเร็วและยกระดับการบริหารจัดการเมืองให้กลายเป็นเมืองอัจฉริยะมากยิ่งขึ้น

Internet of Things (IoT) ได้กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเมืองที่มีประสิทธิภาพ ยั่งยืนและมีความยืดหยุ่นมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่ง IoT หรือ ‘อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง’ สามารถเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างสู่โลกอินเตอร์เน็ตได้ดังนี้

1. การเติบโตของเมืองอัจฉริยะ

          ตั้งแต่ปี 1950 จำนวนผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองเพิ่มขึ้นเกือบ 6 เท่าจาก 751 ล้านเป็น 4 พันล้านในปี 2018 ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลกและคาดว่าจะเพิ่มอีก 2.5 พันล้านคนในอีก 3 ทศวรรษข้างหน้า

          การย้ายถิ่นฐานไปยังเขตเมืองอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดแรงกดดันต่อบริการสาธารณะและการวางผังเมืองมากขึ้น ด้วยเหตุนี้เมืองต่างๆ จึงใช้โซลูชั่นที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและข้อมูล เพื่อลดความตึงเครียดที่เกิดจากการเติบโตนี้

2. นวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ

          การใช้จ่ายในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจะสูงถึง 158 พันล้านดอลล่าร์ ภายในปี 2565 คาดว่าจะมีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญอันเกิดจากนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น

          เครื่องแบบเจ้าหน้าที่: เครื่องมือที่จัดให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นข้อมูลแบบ Real-Time เพื่อปรับปรุงการรับรู้และการตัดสินใจที่ดีขึ้น มีอัตราการเจริญเติบโต 62% ต่อปีทั่วโลก (2017-2022)

          การเชื่อมต่อยานพาหนะกับทุกสิ่ง (V2X หรือ Vehicle to Any Communication): การอนุญาตให้รถยนต์สามารถสื่อสารกับรถยนต์คันอื่น โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและคนเดินเท้า มีอัตราการเจริญเติบโต 49% ต่อปีทั่วโลก (2017-2022)

          ข้อมูลที่ทุกคนเข้าถึงได้: ข้อมูลที่ทุกคนสามารถเข้าถึงจะก่อให้เกิดความโปร่งใสของรัฐบาลและโครงการเมืองอัจฉริยะ คาดว่าจะมีอัตราการเจริญเติบโต 25% ต่อปีทั่วโลก (2017-2022)

          – คอลเลกชันถังขยะอัจฉริยะ: ถังขยะอัจฉริยะที่ติดตั้งระบบเซ็นเซอร์แสงอาทิตย์ ช่วยให้นักสะสมขยะสามารถติดตามระดับขยะและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิง  มีอัตราการเจริญเติบโต 23% ต่อปีทั่วโลก (2017-2022)

          – แพลตฟอร์มเมืองอัจฉริยะ: ระบบที่รวบรวมข้อมูลจากพื้นที่ต่างๆ เช่น ระดับมลพิษและความหนาแน่นของการจราจรเพื่อจัดการเมืองอัจฉริยะ มีอัตราการเจริญเติบโต 23% ต่อปีทั่วโลก (2017-2022)

เทคโนโลยีเหล่านี้อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในวงกว้างสำหรับเมืองต่างๆ ทั่วโลก ที่พร้อมจะยอมรับนวัตกรรมใหม่ๆ เหล่านี้

3. การวัดผลกระทบ

           เทคโนโลยีเมืองอัจฉริยะมีพลังในการพัฒนาสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ในขณะเดียวกันก็ให้แนวทางใหม่ๆ สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจด้วย

           – ความปลอดภัย การเพิ่มความปลอดภัยของประชาชนเมือง โดยใช้แผนที่อาชญากรรมแบบ Real-Time  การตรวจจับกระสุนปืนและเครื่องมือตรวจสอบ เพื่อคาดการณ์ ระบุจุดฮอตสปอตและป้องกันอาชญากรรมที่เกิดขึ้น

            จากข้อมูลของ McKinsey บริษัทที่ให้คำปรึกษาด้านการจัดการระดับโลก ระบุว่า การใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ สามารถลดอัตราการเกิดอาชญากรรมและการเสียชีวิตได้ 8-10% ซึ่งอาจช่วยชีวิตคนได้มากถึง 300 ชีวิต 

            – การขนส่ง เมื่อยานพาหนะเข้าสู่ระบบ IoT มากขึ้น อุตสาหกรรมโลจิสติกส์และการขนส่ง IoT จะเติบโตขึ้นด้วยการใช้จ่ายที่คาดว่าจะสูงถึง 43 พันล้านดอลล่าห์ภายในสิ้นปีนี้ โดยนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น ถนนอัจฉริยะที่รองรับยานพาหนะอัตโนมัติ เริ่มได้รับการลงทุนจากชุมชนเมืองมากขึ้น ถนนเหล่านี้จะสามารถสื่อสารกับยานพาหนะได้อัตโนมัติ เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่และปรับปรุงการจราจรให้ดีขึ้น รวมทั้งอาจลดเวลาการเดินทางโดยเฉลี่ยถึง 30 นาที อ่านต่อที่ Smart Logistics ตัวช่วยธุรกิจในยุคดิจิทัล

            – สุขภาพ เทคโนโลยีกำลังจัดหากลยุทธ์ใหม่สำหรับการป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง ในประเทศจีนมีการใช้โดรนที่ใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า เพื่อติดตามผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก Coronavirus เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาจะกักกันตนเองและไม่แพร่กระจายไวรัสสู่สาธารณะ

              แต่อย่างไรก็ตาม การใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การแทรกแซงด้านข้อมูลเพื่อสุขภาพของแม่และเด็ก ซึ่งต้องอาศัยการวิเคราะห์ เพื่อระบุตัวตนของคุณแม่มือใหม่และการให้ความรู้ก่อนคลอดและหลังคลอด รวมทั้งการใช้มาตรการป้องกันโรคที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในเมืองที่มีภาระโรคสูงและการเข้าถึงการดูแลต่ำ เช่น ลากอสในไนจีเรีย ซึ่งเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้จะช่วยลดภาระของโรคเรื้อรังในเมืองได้ โดยใช้ดัชนีชี้วัดความสูญเสียทางสุขภาพ (DALY) ตัวอย่างเช่น การแทรกแซงข้อมูลพื้นฐานเพื่อดูแลมารดา สามารถลด DALY ได้มากกว่า 5%

            – สิ่งแวดล้อม การลดการผลิตไฟฟ้าและความร้อนสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มาจากเมืองต่างๆ ได้ถึง 15% นอกจากนี้ เมืองอัจฉริยะยังมีบทบาทสำคัญในการลดการใช้น้ำ เช่น การใช้ระบบชลประทานที่ชาญฉลาด การรั่วไหลของน้ำและการตรวจสอบคุณภาพและการบริโภค โดยสามารถประหยัดได้ถึง 25-80 ลิตรต่อคนต่อวัน

             – พลเมืองสร้างเมืองอัจฉริยะ การเติบโตของ 5G สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและผลประโยชน์ทางสังคมด้วยการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูงและความสามารถในรองรับอุปกรณ์ที่มากขึ้น โดย 5G สามารถเพิ่มขีดความสามารถให้กับเมืองอัจฉริยะอันเป็นคุณสมบัติที่กำหนดในโครงการเมืองอัจฉริยะยุคใหม่ แต่ในบางครั้งการสร้างเมืองอัจฉริยะขึ้นใหม่ มีพื้นฐานมาจากหลักความเท่าเทียมและการรวมกันทางสังคม ตัวอย่างเช่น กรุงเวียนนา ติดอันดับดัชนีเมืองอัจฉริยะที่มีวิธีการที่ครอบคลุมและมีแนวทางการร่วมมือกันในการเข้าสู่แนวคิดเมืองอัจฉริยะ โดยให้การสนับสนุนการแก้ปัญหาที่สมดุลทางสังคม ซึ่งจะพิจารณาพลเมืองจากภูมิหลังทางสังคม ได้แก่  เศรษฐกิจและกลุ่มอายุทั้งหมด ทำให้กรุงเวียนนาเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของทั่วทวีปยุโรปที่เป็นผู้นำในการลงทุนโครงการเมืองอัจฉริยะอย่างแท้จริง ทั้งนี้คาดว่าทวีปยุโรปจะมีการเชื่อมต่อ IoT ที่ใช้งานมากถึง 53 ล้านครั้งภายในปี 2568

              แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการเข้ามาของอินเตอร์เน็ตและแอปพลิเคชันจะสร้างความทันสมัย แต่อย่างไรก็ตาม ประชาชนถือเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดและศักยภาพที่แท้จริงของมนุษย์เป็นหัวใจสำคัญในการสร้างเมืองอัจฉริยะ

              Red Logistics บริษัทขนส่งที่ให้บริการนำเข้าสินค้าจากจีนสัญชาติไทย ได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการนำเข้าสินค้า ให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์และสามารถติดตามสินค้าจากจีนถึงไทยได้ตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งยังเดินพิธีการศุลกากรอย่างถูกกฏหมายด้วยเอกสารครบถ้วน ถูกต้อง พร้อมจัดส่งสินค้าทั่วประเทศ ทั้งสะดวกสบาย ชิปปิ้งได้มาตรฐานสากล ด้วยบริการที่ทันสมัย

ที่มา: visualcapitalist

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *