นำเข้าสินค้าจากจีน สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน กำลังจะดำเนินเข้าสู่ปีที่ 2 ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา
ทำให้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ ในขณะที่ความเชื่อมั่นทางธุรกิจทั่วโลกตกต่ำลงเรื่อยๆ มีข้อมูลอะไรบ้างที่น่าสนใจ สะท้อนภาพเศรษฐกิจ และตลาดการเงินของสองประเทศมหาอำนาจในปีที่ผ่านมาบ้าง มาดูกันเลย…
● เศรษฐกิจเติบโตลดลง
เมื่อปี 2562 ที่ผ่านมาก พบว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ( Gross Domestic Product : GDP) ทั้งในสหรัฐฯและจีนขยายตัวลดลง นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดการณ์ว่า อัตราการเติบโตของ GDP ทั้ง สองประเทศจะยิ่งลดลงในปี 2563 เนื่องจากความขัดแย้งทางการค้าอย่างต่อเนื่อง และความท้าทายภายในประเทศ ซึ่งจะเพิ่มแรงงกดดันต่อเศรษฐกิจโลก (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 7 ธุรกิจที่น่าจับตาสำหรับผู้ประกอบการปี 2563)
● ปริมาณการค้าลดลง
เมื่อเทียบปริมาณการค้าสหรัฐฯ-จีน กับนานาชาติ การส่งออกและนำเข้าสินค้าโดยรวมของทั้งสองประเทศลดลงในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2562 เมื่อเทียบกับปี 2561 ท่ามกลางสภาวการณ์ ที่กิจกรรมทางการค้าทั่วโลกชะลอตัวลง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าบางคน กล่าวว่า เหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นก่อนจะมีสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน เสียด้วยซ้ำ ด้านสำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ระบุว่า สาเหตุที่สหรัฐฯขาดดุลการค้า ส่วนใหญ่มาจากการค้ากับจีนไม่สมดุล ทว่า ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนักเมื่อปีที่ผ่านมา
● การผลิตชะลอตัว
ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตทั้งสหรัฐฯและจีนบอบช้ำจากการที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว และถูกซ้ำเติมจากสงครามการค้าระหว่างกัน ซึ่งดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อภาคการผลิต (Purchasing Managers’ Index : PMI) ของจีน ส่วนใหญ่อยู่ในแดนหดตัว หรือหมายถึงดัชนีอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 ส่วนดัชนี PMI ภาคการผลิตของสหรัฐฯ ระบุว่า กิจกรรมการผลิตหดตัวลงตั้งแต่เดือน ส.ค. 2562 เป็นต้นมา
● ยอดค้าปลีกคงที่
การใช้จ่ายของผู้บริโภคทั้งในสหรัฐฯและจีน ยังจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจที่สดใสในปี 2562 โดยได้รับแรงสนับสนุนจากตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งทั้งสองประเทศ และอาจมีโอกาสเสี่ยงที่จะไม่ยั่งยืน
ฟรานซิส ตัน นักยุทธศาสตร์การลงทุนในประเทศสิงคโปร์ เตือนว่า หากสหรัฐฯขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน อาจส่งผลกระทบต่อรายจ่ายของผู้บริโภคสหรัฐฯ ในขณะที่ด้านจีน ราคาสินค้าที่แพงขึ้นก็อาจทำให้ผู้บริโภคต้องลดค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นๆ
● การเคลื่อนไหวของค่าเงินเปลี่ยนแปลง
สภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ค่อนข้างแข็งแกร่งและนักลงทุนนิยมถือเงินดอลลาร์เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ทำให้ความต้องการเงินดอลลาร์สูงขึ้น ส่งผลให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นในปี 2562 ซึ่งตรงกันข้ามกับจีน ที่เปิดช่องให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่าเกือบตลอดทั้งปี ซึ่งการเคลื่อนไหวนี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวว่า จีนปั่นค่าเงิน แต่กองทุนเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) กล่าวว่า ค่าเงินหยวนเป็นไปตามพื้นฐานเศรษฐกิจของจีนอยู่แล้ว เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจทางด้านโลจิสติกส์โลก ก็ยังคงมีแนวโน้มที่สดใสและไปได้อีกยาวไกล แม้ว่าจะเกิดสงครามการค้าระหว่างสองมหาอำนาจนี้ขึ้นก็ตาม โดยเฉพาะธุรกิจการขนส่งหรือการ นำเข้าสินค้าจากจีน ยังคงเติบโตต่อเนื่อง ที่สำคัญยังเป็นที่คาดการณ์กันด้วยว่า จะมีการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เพื่อให้การขนส่งดำเนินไปอย่างราบรื่นและง่ายดาย นำเข้าสินค้าจากจีน กับ Red Logistics บริการขนส่งสินค้าจากจีนมาไทย