ชิปปิ้ง โลกธุรกิจหลัง Covid-19 จะเป็นไปในทิศทางใด?

ชิปปิ้ง โลกธุรกิจหลัง Covid-19 จะเป็นไปในทิศทางใด-Redlogistics ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง โลกธุรกิจหลัง Covid-19 จะเป็นไปในทิศทางใด?                                                               Covid 19                                                        Redlogistics 768x402

ชิปปิ้ง หลังสถานการณ์ Covid-19 ซึ่งแพร่ระบาดไปทั่วโลกกว่า 120 ประเทศและในหลายประเทศจำเป็นต้องปิดเมือง

จึงทำให้ธุจกิจต่างๆ และประชาชนขาดรายได้ รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคที่หันมาใช้บริการขนส่งและเทคโนโลยีมากขึ้น 

         Red Logistics จึงได้รวบรวมบทวิเคราะห์โลกธุรกิจหลัง Covid-19 ที่ภาคธุรกิจจะต้องเผชิญ ของ ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส หัวหน้าฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม สายกลยุทธ์ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) ที่ได้เผยแพร่บนคอลัมน์ GLOBAL VISION ในนสพ.กรุงเทพธุรกิจรายวัน ไว้ 2 ระยะ ดังนี้ 

  1.       เศรษฐกิจจะทรุดหนักกว่าเดิม ทำให้หลายธุรกิจต้องปิดตัวลงเป็นจำนวนมากและจะทำให้ยอดขายของบริษัททั่วโลกหายไปกว่า 50% เช่น จากราคาน้ำมันดิบเบรนท์ในปัจจุบันที่ต่ำกว่า 50% ส่วนในไทย ธุรกิจโดยเฉพาะภาคบริการได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง รวมทั้งเมื่อมีการปิดเมืองที่รุนแรงขึ้น ทำให้ธุรกิจต้องขาดรายได้ ในขณะที่ยังต้องจ่ายต้นทุนประจำอยู่ เช่น ค่าเช่า ค่าจ้าง ภาษี จึงทำให้ต้องปลดคนงานมากขึ้น นอกจากนี้ ภาคธุรกิจยังเสี่ยงต่อการล้มละลาย ปิดกิจการหรือถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลง
  2.       ธุรกิจต่างๆ จะได้รับผลกระทบไม่เท่ากัน โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ความแข่งแกร่งด้านการเงิน ภาคอุตสาหกรรม ขนาด สายป่านและการเข้าถึงเงินทุนของธุรกิจ ความช่วยเหลือจากภาครัฐ รวมทั้งความสามารถในการฟื้นตัว

        แต่ถึงอย่างนั้น ภายใต้วิกฤตดังกล่าว กลับส่งผลเป็นปัจจัยบวกต่อวงการโลจิสติกส์และการขนส่ง เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคหันไปเลือกสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ โดยเฉพาะการชิปปิ้งหรือนำเข้าสินค้าจากจีน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องอุปโภค บริโภค ของใช้จำเป็นต่างๆ รวมไปถึงการบริการจัดส่งด่วนที่มีแนวโน้มกลายเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคสูงขึ้นมาก Freight Forwarder เทรนด์มาแรงของธุรกิจโลจิสติกส์ปี 2563

        นอกจากนี้ ในระยะยาวจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจอย่างน้อย 3 ด้าน ได้แก่

  1.       ธุรกิจที่จะอยู่รอดได้ในระยะยาว จำเป็นต้องมีการใช้ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น โดยมีช่องทางการค้าเป็นแพล็ตฟอร์ม E-Commerce การชำระค่าสินค้าและบริการเป็น Digital Payment รวมถึงการทำงานออนไลน์ Remote-working มากขึ้น เช่น Grab ในเอเชีย, WeChat ในจีน หรือการใช้ Video Conference
  2.       กระแสโลกาภิวัฒน์ด้านการผลิตจะลดลงในระยะยาว โดย Supply Chain จะเปลี่ยนไป บริษัทขนาดใหญ่จะลดความยาวของ Supply Chain ให้สั้นลง กระจายการผลิตในหลายประเทศ รวมทั้งลดการพึ่งพาการผลิตจากจีนและหันไปเลือกประเทศอื่นแทน เช่น เวียดนาม เมียนมาร์ บังกลาเทศ อินเดีย เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทต่างชาติอาจย้ายฐานผลิตกลับไปยังประเทศของตนเอง ซึ่งจะทำให้การลงทุน FDI ทั่วโลกลดลงอย่างน้อย 30-40% ซึ่งส่วนหนึ่งอาจมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่ทำให้การผลิตทำได้โดยง่ายและไม่ต้องพึ่งพาแรงงานจำนวนมากอีกต่อไป
  3.       การรวมกิจการ ธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีสายป่านยาว และมีสายสัมพันธ์กับรัฐบาลจะอยู่รอดมากกว่าธุรกิจขนาดเล็กที่มีสายป่านสั้น ซึ่งเป็นไปได้ว่าจะมีการควบรวมกับบริษัทที่อ่อนแอกว่าและจะมีการควบรวมกิจการขนาดใหญ่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ สายการบิน บริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะเข้ามาควบรวมกับธุรกิจในภาคเศรษฐกิจจริงมากขึ้น

          สิ่งต่างๆ เหล่านี้อาจส่งผลต่อธุรกิจและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่จะเปลี่ยนไปในระยะยาว แม้ว่าสถานการณ์โรคระบาดจะจบสิ้นลงแล้ว ก็ไม่อาจคาดเดาได้ว่าสถานการณ์ต่างๆ จะกลับสู่ภาวะปกติดังเดิมหรือเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *