ชิปปิ้งหรือการนำเข้าสินค้าจากจีน เมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทย ผู้นำเข้าต้องยื่นใบขนสินค้าและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าให้กับเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ท่าที่นำเข้า
โดยก่อนที่จะนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศต้องทำการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) ก่อน และหากไม่ต้องการผ่านพิธีการเอง สามารถมอบอำนาจให้ตัวแทน (Custom Broker) ดำเนินการแทนได้
ในบางกรณีผู้นำเข้ายังต้องขอใบอนุญาตในการนำเข้าสำหรับสินค้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า โดยสินค้าบางรายการต้องได้รับการอนุญาตให้นำเข้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนการนำเข้า ซึ่งเอกสารที่จำเป็นในการยื่นเพื่อดำเนินพิธีการทางศุลกากรนั้น ประกอบไปด้วย
1. ใบขนสินค้าขาเข้า (Import Entry Declaration)
2. ใบตราส่งสินค้า (B/L หรือ Bill of Lading)
3. บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
4. บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)
5. ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า (License)
6. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate Of Origin) กรณีขอลดหรือยกเว้นอัตราอากรขาเข้า
7. เอกสารอื่น ๆ เช่น แค็ตตาล็อก เอกสารแสดงส่วนผสม เป็นต้น
หลังจากลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ผู้นำเข้าต้องมาดำเนินการผ่านพิธีการนำเข้าในระบบ Paperless โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.การบันทึกข้อมูล ให้ผู้นำเข้าหรือตัวแทนบันทึกข้อมูลบัญชีราคาสินค้า (Invoice) ผ่านคอมพิวเตอร์หรือทาง Counter Service โดยโปรแกรมจะจัดทำข้อมูลให้อยู่ในรูปของ ‘ใบขนขาเข้า’ แล้วส่งข้อมูลให้กับทางกรมศุลกากร
2.การตรวจสอบข้อมูล เมื่อกรมศุลกากรได้รับข้อมูลแล้ว จะดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น หากข้อมูลที่บันทึกมีข้อผิดพลาด กรมศุลกากรจะแจ้งข้อมูลกลับ เพื่อให้ทางผู้นำเข้าหรือตัวแทนแก้ไขแล้วส่งข้อมูลกลับไปใหม่ เมื่อข้อมูลทุกอย่างถูกต้องเรียบร้อยแล้วกรมศุลกากรจึงจะออก ‘เลขที่ใบขนสินค้าขาเข้า’
3.การตรวจสอบเงื่อนไข กรมศุลกากรจะทำการตรวจสอบเงื่อนไขอย่างละเอียด โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- Green Line ใบขนสินค้าขาเข้าประเภทที่ไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ สามารถนำใบขนสินค้าขาเข้าไปชำระภาษีอากร วางประกันและตรวจปล่อยสินค้าได้เลย
- Red Line ใบขนสินค้าขาเข้าประเภทที่ต้องตรวจสอบพิธีการ ต้องนำใบขนสินค้าไปติดต่อกับหน่วยงานประเมินอากรของท่าที่นำเข้าสินค้านั้น
4.การตรวจปล่อยสินค้า เมื่อชำระภาษีอากรทั้งหมดแล้ว จะมีการตรวจสอบข้อมูลของสินค้าอีกครั้ง ก่อนทำการปล่อยสินค้าออกมา
5.การจัดเก็บข้อมูล ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องทำการจัดเก็บข้อมูล ‘บัญชีราคาสินค้า’ ในรูปของสื่อคอมพิวเตอร์ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน เพื่อใช้สำหรับการตรวจสอบใบขนสินค้าหลังการตรวจปล่อย โดยสามารถจัดพิมพ์เป็นรายงานได้เมื่อกรมศุลกากรร้องขอ
อย่างไรก็ตาม แม้ขั้นตอนการนำเข้าสินค้าผ่านพิธีศุลกากรอาจดูเหมือนไม่ยุ่งยาก แต่หากใช้บริการกับชิปปิ้งหรือบริษัทขนส่งก็จะช่วยประหยัดเวลาและสะดวกกว่ามาก 5 เหตุผล ทำไมต้องใช้บริการกับบริษัทโลจิสติกส์โดยเฉพาะ อาทิ Red Logistics ผู้ให้บริการนำเข้าสินค้า พร้อมเดินพิธีการศุลกากร จัดทำเอกสารนำเข้าทุกฉบับอย่างครบถ้วนในนามของลูกค้า มีใบกำกับภาษีและ Form E ที่ใช้ลดหย่อนภาษีนำเข้าจากจีนได้ต่ำสุด 0% พร้อมจัดส่งสินค้าทั่วประเทศไทย ติดต่อสอบถามผ่าน Call Center ได้ทุกวันตั้งแต่ 9.00-18.00 น.
ที่มา:www.abassociated.com และ www.goodfreight-th.com