นำเข้าสินค้าจากจีน ในนครกว่างโจว มลฑลกวางตุ้ง ที่เป็นเมืองขนาดใหญ่อันดับ 3 รองจากนครเซี่ยงไฮ้และกรุงปักกิ่ง ถือเป็นเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจ การคมนาคมและประตูการค้าที่สำคัญทางตอนใต้ของจีน
เนื่องจาก กว่างโจวมีสนามบินนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกและใหญ่เป็นอันดับ 3 ของจีน มีทางรถไฟเชื่อมระหว่างกว่างโจว เซินเจิ้นและฮ่องกง รวมทั้งมีท่าเรือกว่างโจว ที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของท่าเรือโลกปี 2013
นอกจากท่าเรือกว่างโจวแล้ว ยังมี ท่าเรือหนานซา ที่เป็นท่าเรือเขตใหม่บนเกาะ Longxue ของนครกว่างโจว ซึ่งเป็นใจกลางเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงอีกด้วย มีท่าเทียบเรือทั้งหมด 16 ท่า ใช้ขนส่งสินค้า ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยมีการเชื่อมต่อเส้นทางและการคมนาคมในประเทศอย่างครอบคลุม ได้แก่
1. ทางถนน
เป็นเครือข่ายเส้นทางด่วน เชื่อมต่อกับเขตเศรษฐกิจปากแม่น้ำจูเจียง ซึ่งมีทั้งหมด 4 เส้นทาง ได้แก่
– ทางด่วนปักกิ่ง-จูไห่ตะวันออกและทางด่วนกว่างโจว-หนานซา เชื่อมกับเกาะหลงลิ่ว เป็นที่ตั้งของเมือง มหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัยและเมืองวิทยาศาสตร์ของกว่างโจว
– ทางด่วนสายตะวันออกเชื่อมกับเมืองหุ้ยโจว เซินเจิ้นและตงกว่าน
– ทางด่วนสายตะวันตกเชื่อมกับนครกว่างโจว เมืองฝอซาน เจียงเหมิน จงซาน จ้าวชิ่งและจูไห่
– ทางหลวงเชื่อมกับเมืองฝอซาน ซุนเตอ พานหยู จงซาน
2. ทางรถไฟ
ใช้เส้นทางขนส่งสินค้าหนานซา-เหอซาน (เมืองเจียงเหมิน) เป็นจุดเชื่อมต่อเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงทางตะวันตกกับมลฑลอื่นๆ โดยผ่านเส้นทางนครกว่างโจว ฝอซาน จงซานและเจียงเหมิน ซึ่งมีระยะทางรวม 90 กิโลเมตร
3. ทางน้ำ
มีเรือเล็กสำหรับขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือเล็กในมลฑลกวางตุ้ง โดยมีขนาดบรรจุ 100 ตัน สามารถลดต้นทุนการขนส่งทางบกได้ถึงร้อยละ 6 อีกทั้งยังมีเส้นทางทะเลที่ใกล้กับท่าเรือกว่างโจวและท่าเรือเซินเจิ้น 21 ไมล์ทะเล และท่าเรือฮ่องกง 38 ไมล์ทะเล
นอกจากท่าเรือหนานซาจะมีการเชื่อมต่อกับท่าเรือในประเทศกว่า 42 เส้นทางแล้ว ท่าเรือหนานซายังมีเส้นทางเชื่อมต่อกับต่างประเทศอีก 51 เส้นทาง รวมทั้งหมดเป็น 93 เส้นทาง สำหรับการขนส่งจากท่าเรือหนานซามาเมืองไทยนั้น จะเป็นการขนส่งผ่านท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี โดยท่าเรือหนานซาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมท่าเรือกว่างโจว ซึ่งได้ลงนามข้อตกลง (Sister Port Agreement Between Laem Chabang and Guangzhou Port) ร่วมกันกับท่าเรือแหลมฉบังเอาไว้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2558 และบริษัท Guangzhou Port Group ยังมีข้อเสนอต่อฝ่ายไทย ในด้านการอำนวยความสะดวกในการผ่านพิธีต่างๆ ของการขนส่งสินค้าและการหารือร่วมกันเกี่ยวกับการบริการการขนส่งสินค้ากันอย่างใกล้ชิดอีกด้วย
ท่าเรือหนานซา นอกจากจะเป็นท่าเรือน้ำลึกแห่งเดียวในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงตะวันตกแล้ว ยังเป็นศูนย์กลางแหล่งเมืองผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือแพทย์ เหล็กกล้า เฟอร์นิเจอร์ รถยนต์ อะไหล่รถยนต์ เซรามิค อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน เป็นต้น ทำให้สามารถลดต้นทุนในการขนส่ง มีความสะดวก รวดเร็ว เรือขนส่งใช้เวลารอเทียบท่าเพียง 3 ชั่วโมง มีพิธีการศุลกากรและหน่วยงานตรวจสอบเอกสารโดยใช้นโยบาย One Stop หากเป็นสินค้าทั่วไปใช้เวลาในการดำเนินการผ่านสินค้าเพียง 1 วัน เท่านั้น
จะเห็นได้ว่า กว่างโจวเป็นเมืองที่มีศักยภาพ ทั้งด้านการค้าและลงทุนของจีน โดยเฉพาะการนำเข้าและส่งออก การค้าข้ามพรมแดนแบบ E-Commerce ซึ่งมีภาษีนำเข้าถูกกว่าการนำเข้าทั่วไป อีกทั้งในจีนและไทยเองยังมุ่งสู่การขนส่งสีเขียวและหันมาให้ความสำคัญของมลพิษทางอากาศอีกด้วย อ่านต่อได้ที่ ส่อง 3 ประเทศในเอเชีย มุ่งสู่ความเป็น Green Logistics จึงเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ ที่สามารถนำเข้าสินค้าจากจีนได้ในราคาต้นทุนต่ำ และสามารถเลือกใช้บริการขนส่งที่นำเข้าสินค้าจากจีนมาไทยได้อย่างหลากหลาย อาทิ Red Logistics ผู้ให้บริการนำเข้าสินค้าจากจีน มีโกดังสินค้าที่เมืองกว่างโจว ขนส่งรวดเร็ว เดินพิธีศุลกากรถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมจัดส่งภายในประเทศ
ที่มา: THAIBIZCHINA.COM/DITP/โพสต์ทูเดย์