1688 จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในจีนได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจหลายภาคส่วน ทั้งภาคการค้า และภาคการท่องเที่ยว
โดยนักวิเคราะห์จากศูนย์แลกเปลี่ยนเศรษฐกิจระหว่างประเทศของจีน (China Center for International Economic Exchanges, CCIEE) ได้ประเมินเบื้องต้นว่า ช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มจะได้รับความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่าถึงกว่า 500,000 ล้านหยวน
หลักจากมีการออกมาตรการรับมือกับโรคโควิด-19 ทำให้ผู้คนต้องกักตัวอยู่ในบ้านเป็นหลัก ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคที่ปรับเปลี่ยนไปใช้แพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชันออนไลน์มากขึ้น ทำให้ร้านค้าต่างๆ ต้องปรับกลยุทธ์ใหม่ โดยให้สั่งสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์และจัดส่งให้ถึงที่พักอาศัย นอกจากนี้กิจกรรมอื่นๆ ในวิถีชีวิตยังปรับเปลี่ยนไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการทำงานออนไลน์ การศึกษาออนไลน์ กิจกรรมบันเทิงออนไลน์ หรือแม้กระทั่งการให้คำปรึกษาทางการแพทย์ผ่านระบบออนไลน์
สิ่งต่างๆ เหล่านี้จึงสะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณการเปลี่ยนแปลง ที่คาดว่าภายหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาได้สิ้นสุดลงแล้ว ภาคการบริโภคโดยรวมจะกลับมาเพิ่มสูงขึ้นและพฤติกรรมการบริโภคใน 4 ลักษณะนี้ยังจะคงปรากฏให้เห็นต่อไป ได้แก่
1. การซื้อขายออนไลน์จะเติบโตขึ้นจากเดิม ซึ่งวิกฤต COVID-19 อาจกระตุ้นให้เศรษฐกิจดิจิทัลโดยเฉพาะ E-Commerce จีนมีแนวโน้มเติบโตเร็วขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากมีผู้บริโภคในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มพื้นที่ชนบทเข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น
2. การประยุกต์ใช้ AI และหุ่นยนต์เพิ่มมากขึ้นในช่วงป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด เป็นผลให้ผู้บริโภค ผู้ผลิต ผู้จัดจัดหน่ายเห็นถึงศักยภาพ และประโยชน์ของ AI รวมทั้งหุ่นยนต์ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตได้มากขึ้น
3. ธุรกิจการค้าชุมชน เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดเล็ก ร้านสะดวกซื้อต่างๆ จะมีบทบาทต่อผู้บริโภคมากขึ้น เห็นได้จากในจีน ที่มีนโยบายช่วงป้องกันการแพร่ระบาด ที่มุ่งเน้นให้ผู้บริโภคจีนหันมาจับจ่ายในร้านใกล้ชุมชน แทนการเดินทางไปซื้อสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ โดยร้านค้าชุมชน ต่างปรับกลยุทธ์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริโภคมากขึ้น อาทิ จัดส่งฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
4. ผู้บริโภคตระหนักถึงความปลอดภัยในอาหารมากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของ SARS และ COVID-19 มีการสันนิษฐานว่า ต้นเหตุมาจากอาหารในตลาดสินค้าสด ในอนาคตจึงเป็นที่คาดการณ์ว่า ผู้บริโภคจะให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยในอาหารมากขึ้นตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่ออีคอมเมิร์ซและการซื้อขายออนไลน์เติบโตมากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ ที่มีความต้องการใช้บริการสูงในช่วงที่ผู้คนหยุดออกนอกบ้าน ทำให้มีเม็ดเงินสะพัดเข้ามาในตลาดนี้เป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการส่งอาหารเดลิเวอรี่ การขนส่งสินค้าในประเทศ รวมทั้งการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ
โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าจากจีนที่เป็นตลาดอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อาทิ 1688 ตลาดค้าส่งอีคอมเมิร์ซจากจีนที่มักมีการนำเข้าวัตถุดิบในการผลิตสินค้าขนาดใหญ่และนิยมนำเข้าสินค้ามาไทยเป็นจำนวนมาก ทำให้บริษัทขนส่งหลายแห่งมีปริมาณพัสดุที่ต้องจัดส่งในระบบโลจิสติกส์เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความท้าทายในการบริหารจัดการการขนส่งให้มีประสิทธิภาพในช่วงที่มีความต้องการใช้บริการสูงและกลยุทธ์ที่เหนือกว่าคู่แข่งจะทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้ในอนาคต อ่านต่อได้ที่ โลกธุรกิจหลัง Covid-19 จะเป็นไปในทิศทางใด?
Red Logistics ผู้ให้บริการนำเข้าสินค้าจากจีน นำเข้าสินค้าอย่างถูกกฏหมาย พร้อมเอกสารนำเข้าครบถ้วน สามารถออก Form E สำหรับใช้ลดหย่อนภาษีนำเข้าจากจีนต่ำสุด 0% พร้อมเทคโนโลยีการนำเข้าที่ทันสมัย สามารถตรวจสอบสถานะสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมงและระบบ Call Center ที่ให้บริการทุกวัน ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
ที่มา: thaibizchina/SME Social Planet