ชิปปิ้ง สิ่งที่ผู้ประกอบการธุรกิจโลจิสติกส์มือใหม่ต้องทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้คือกระบวนการทั้งหมดที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน
ไม่ว่าจะเป็นการหาวัตถุดิบ การผลิต การคัดเลือกบรรจุภัณฑ์ การบริหารคลังสินค้า การกระจายสินค้า รวมไปถึงการบริการลูกค้า โดยทุกขั้นตอนเหล่านี้เป็นเสมือนต้นทุนในการบริหารกิจการทั้งสิ้น
Red Logistics มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของโลจิสติกส์ ที่ผู้ประกอบการมือใหม่จำเป็นต้องรู้ และทำความเข้าใจ เพื่อบริหารจัดการให้ธุรกิจโลจิสติกส์ (Logistics) ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. ต้นทุนการผลิต
ในการทำธุรกิจใดๆ นั้น เป็นธรรมดาที่ผู้ประกอบการย่อมต้องการให้มีการขายสินค้าให้ได้มากที่สุด เพราะนั่นหมายถึงผลกำไรที่จะได้รับย่อมดีตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม การสั่งซื้อสินค้าเพื่อนำมาขายต่อนั้น ผู้ประกอบการควรมองหาแหล่งจำหน่ายสินค้าที่ได้ราคาดี เทียบเท่ากับต้นทุนหรือต่ำกว่าทุนโดยเฉพาะหากสั่งซื้อในปริมาณมากๆ เพราะนั่นหมายถึงว่า เมื่อนำมาจำหน่ายต่อ ย่อมได้กำไรที่มากกว่าต้นทุน ในปัจจุบัน สินค้าจากจีน จึงกลายเป็นแหล่งจำหน่ายที่ผู้ประกอบการหมายตา และสนใจนำเข้าเป็นจำนวนมากเนื่องจากราคาถูก มีสินค้าให้เลือกหลากหลาย และคุณภาพดี อย่างไรก็ตาม อย่ามัวแต่กังวลถึงตัวเลขของราคาต้นทุน จนลืมพิจารณาถึงสภาพของสินค้า
2. การจัดการคลังสินค้า
การจัดการคลังสินค้าเป็นส่วนสำคัญของห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งหากธุรกิจไม่มีการจัดการที่ดี ย่อมส่งผลให้การควบคุมเป็นไปได้ยากและต้นทุนสูง รวมถึงย่อมกระทบไปยังระบบงานส่วนอื่นๆ ด้วย เพราะคลังสินค้ามีพื้นที่จำกัด หากคุณไม่มีการวางระบบในการจัดวางสินค้า ไม่วางแผนการระบายสินค้าเก่า ในขณะสินค้าใหม่เพิ่มขึ้น ก็ย่อมพบกับปัญหาพื้นที่คลังสินค้าที่มีไม่เพียงพอ ทำให้สินค้าค้างสต๊อก และเมื่อสินค้าคงคลังมากขึ้น ทำให้ต้นทุนการจัดเก็บย่อมสูงมากยิ่งขึ้นด้วย
3. การกระจายสินค้า
ผู้ประกอบการหลายรายใช้บริการขนส่งสินค้าทางรถ เนื่องจากเป็นการขนส่งที่รวดเร็ว สะดวก และราคาไม่แพง อย่างไรก็ตาม สำหรับสิ่งที่ผู้ประกอบการหลายรายคำนึงถึงก็คือ ทำอย่างไรที่จะทำให้สินค้าเต็มคันรถมากที่สุด? แต่กลับไม่ได้คำนึงถึงรถขากลับที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ สิ่งสำคัญคือผู้ประกอบการควรตรวจสอบต้นทุนด้านนี้อย่างละเอียด บางครั้ง การจ้างผู้ให้บริการชิปปิ้งดำเนินการด้านนี้แทน จะสามารถช่วยลดต้นทุนการขนส่งได้ โดยอาจจะมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าการใช้รถขนส่งของธุรกิจเอง
4. การบริการลูกค้า
ความพึงพอใจของลูกค้าคือส่วนสำคัญที่สุดของการทำธุรกิจ เมื่อลูกค้าเกิดความประทับใจต่อสินค้าและบริการ นั่นแปลว่าย่อมมีโอกาสที่พวกเขาจะกลับมาซื้อซ้ำหรือเกิดความภักดีต่อแบรนด์ขึ้นในท้ายที่สุด อย่างไรก็ตาม การที่จะทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจต่อแบรนด์ได้นั้น ย่อมมาจาการให้บริการลูกค้า ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่เมื่อลูกค้ารู้สึกสนใจสินค้า การให้คำแนะนำ การจัดส่งสินค้าได้ตรงเวลา รวมไปจนถึงการให้ความช่วยเหลืออย่างรวดเร็วเมื่อลูกค้าเกิดปัญหา ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องวางแผนและวางระบบให้รัดกุม เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็วที่สุด ในทางตรงกันข้าม หากลูกค้าเกิดความไม่พึงพอใจในการใช้บริการเพียงครั้งแรกและครั้งเดียว โอกาสที่ผู้บริโภคจะกลับมาซื้อซ้ำอีก ก็แทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้
อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการดำเนินธุรกิจในชีวิตจริงนั้น มักมีปัญหาซ่อนอยู่ โดยประเด็นที่กล่าวมาข้างต้น ถือเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องทำความเข้าใจอย่างยิ่ง เพราะหากคุณไม่รู้วิธีจัดการกับปัญหาด้านโลจิสติกส์ (Logistics) ที่เกิดขึ้น สิ่งที่จะตามมาก็คือ ไม่สามารถควบคุมธุรกิจให้ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้