ชิปปิ้ง หนึ่งในเทรนด์ของการขนส่งปี 2020 จะมุ่งเน้นในเรื่อง Green Logistics มากขึ้น เนื่องมาจากคนรุ่นใหม่เริ่มให้ความใส่ใจและตระหนักในด้านสิ่งแวดล้อม
ทำให้บริษัทโจลิสติกส์ในหลายประเทศทั่วโลก มีสัญญานที่ดีในการบริหารจัดการด้านการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศที่มีคะแนน LPI สูง ต่างก็มีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับ Green Logistics มากกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา
อย่างไรก็ตาม Green Logistics ก็คือการดำเนินงานด้านการขนส่ง ที่มุ่งเน้นการลดมลพิษทางอากาศ อันเนื่องจากมาจากก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ (CO2) ซึ่งหลักๆ เกิดจากการเผาผลาญของน้ำมันจากรถบรรทุกขนส่ง ตลอดจนการหันมาใช้ระบบการขนส่งในรูปแบบต่างๆ ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ขนส่งรอบน้อยลง แต่ปริมาณเยอะขึ้น หรือการทำ Repackaging และ Reuse Packaging ฯลฯ เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตในระบบโลจิสติกส์ เป็นต้น
ปัจจุบันมีหลายประเทศทั่วโลก ที่มีการผลักดันระบบโลจิสติกส์ภายในประเทศให้ก้าวไปสู่ความเป็น Green Logistics สำหรับในเอเชียมี 3 ประเทศหลักๆ ที่ Red Logistics มีข้อมูลมาแบ่งปัน มีประเทศไหนบ้าง ไปดูกันเลย…
1.สาธารณรัฐประชาชนจีน
เป็นประเทศที่มีความได้เปรียบด้านขนาดของตลาด ขนาดพื้นที่ของประเทศ จำนวนประชากรและมีการขนส่งสินค้าหลายรูปแบบ ในขณะเดียวกันก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดมลพิษและสารพิษที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ประเทศจีนจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาและปรับปรุงระบบคมนาคมขนส่งอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังได้สนับสนุนระบบโลจิสติกส์ในด้านต่างๆ อย่างจริงจัง ทั้งการสร้างแนวคิด กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การประเมิน (Carbon Foot Print คือปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย) และการสนับสนุนระบบขนส่งอย่างเต็มรูปแบบ จึงทำให้ประชาชนเกิดความตระหนักและใส่ใจในการร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ปัจจุบัน รัฐบาลจีนได้วางแผนที่จะพัฒนาระบบนส่งมวลชนในประเทศให้เป็นรถไฟฟ้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด
2.ประเทศญี่ปุ่น
เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 โดยบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากญี่ปุ่นต้องเผชิญกับปัญหาขยะและของเสีย รวมทั้งกระบวนการกำจัดของเสียจากภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐจึงมีนโยบายส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กิจกรรมการรีไซเคิล การออกกฎหมายเพื่อคัดแยกและรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ ส่งเสริมการนำบรรจุภัณฑ์มารีไซเคิลใหม่ นอกจากนี้ประเทศญี่ปุ่นยังเข้าร่วมพิธีสารเกียวโต ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติ เพื่อเน้นย้ำความร่วมมือในด้านการกำจัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันจะนำไปสู่การก่อตั้งสังคมคาร์บอนต่ำขึ้นมา นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมและสนองนโยบายการใช้พลังงานจากแหล่งทางเลือกอื่นๆ รวมทั้งยังใช้เครื่องหมาย Eco Ship Mark เพื่อรองรับบริษัทโลจิสติกส์และการขนส่งทางเรือที่มีการพัฒนาระบบขนส่งที่ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนอีกด้วย
3.ประเทศไทย
ในประเทศไทยการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียว เกิดจากกระแสการค้าที่ประเทศคู่ค้าเริ่มมีบทบาทและสร้างกฎเกณฑ์ ข้อบังคับและกฎหมายต่างๆ ทำให้รัฐบาลสนับสนุนภาคธุรกิจอุตสาหกรรมทั้งในด้านพัฒนาบุคลากรหรือด้านการให้คำปรึกษาในสถานประกอบการ เพื่อยกระดับและพัฒนาระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียวในด้านต่างๆ รวมทั้งมีการให้การรับรองฉลากสิ่งแวดล้อมของสถานประกอบการ นอกจากนี้ยังมีแนวทางพัฒนาไปสู่ระบบการบริหารจัดการ Green Logistics โดยมีแนวคิดจากการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกระหว่างการประกอบการอุตสาหกรรม ชุมชนและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของการประกอบอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
แนวทางและกลยุทธ์ในการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานสีเขียวของแต่ละประเทศนั้น ได้สะท้อนถึงศักยภาพและวัฒนธรรมทางธุรกิจและการจัดการในแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกัน สำหรับประเทศไทยเอง ก็เริ่มมีความจริงจังในเรื่องการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นในระดับนโยบายและระดับธุรกิจ ผู้ประกอบการจึงต้องตระหนักถึงความสำคัญของมาตรการเหล่านี้และให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง เพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
Red Logistics บริษัทนำเข้าสินค้าจากจีนมาไทยทั้งสินค้าธรรมดาและสินค้าที่มีเครื่องหมาย มอก. (ศึกษาการนำเข้าหรือชิปปิ้งสินค้าที่มีเครื่องหมาย มอก. เพิ่มเติมได้ที่ เครื่องหมาย มอก. กับสิ่งที่คุณต้องรู้ในการนำเข้าสินค้าจีน) ที่ได้มาตรฐานและความไว้วางใจจากผู้ประกอบการมาอย่างยาวนาน เราพัฒนาระบบการขนส่งและชิปปิ้งให้มีความทันสมัย และสนับสนุนการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ การนำเข้าและชิปปิ้งทุกขั้นตอนเป็นการดำเนินงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยลดทรัพยากรกระดาษ มีระบบติดตามสินค้าจากจีนมาถึงไทย พร้อมจัดส่งสินค้าถึงมือลูกค้าทั่วประเทศ
ที่มา: โซ่อุปทานสีเขียว: นวัตกรรมเพื่อสร้างศักยภาพการแข่งขันที่ยั่งยืน