1688 หลังจากผู้ประกอบการเจอพิษ Covid-19 ทำให้หลายอุตสาหกรรมต่างได้รับผลกระทบกันโดยถ้วนหน้านั้น
ในสภาวะคับขันดังกล่าว เราต่างได้เห็นน้ำใจจากหลายหน่วยงานและภาคส่วน ที่ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือผู้ที่ประสบความเดือดร้อนในช่วงวิกฤตของกิจการ การขาดรายได้ ธุรกิจขาดทุน ในขณะที่ภาระหนี้สินต่างๆ ยังคงไม่สูญหาย
ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงการคลัง จึงได้ร่วมกันออกมาตรการช่วยบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็นภาคส่วนที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยและเป็นแหล่งการจ้างงานหลักของประเทศ โดยให้มีเงินทุนและสภาพคล่องเพียงพอสำหรับดำเนินธุรกิจและรักษาการจ้างงานต่อไปได้
รวมไปถึง มีมาตรการเพื่อดูแลเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน เพื่อรักษาช่องทางการระดมทุนของภาคเอกชนและระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ ทั้งหมด 4 มาตรการ ดังต่อไปนี้
1. การเลื่อนกำหนดการชำระหนี้สำหรับธุรกิจ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อช่วยให้ ธุรกิจ SMEs มีสภาพคล่องยิ่งขึ้น
2. การสนับสนุนสินเชื่อใหม่ให้แก่ธุรกิจ SMEs โดยให้อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนพิเศษร้อยละ 2 ต่อปี และไม่คิดดอกเบี้ยใน 6 เดือนแรก ซึ่งได้จัดสรรสินเชื่อใหม่ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปีให้ธนาคารที่มีวงเงินรวม 5 แสนล้านบาท เป็นเวลา 2 ปี เพื่อให้ธนาคารนำไปให้สินเชื่อแก่ธุรกิจ SMEs ที่ดำเนินธุรกิจในประเทศและมีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารแต่ละแห่งไม่เกิน 500 ล้านบาท รวมทั้งมีสถานะผ่อนชำระปกติหรือค้างชำระไม่เกิน 90วัน (ยังไม่เป็น NPL) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 แต่มาตรการนี้ไม่ครอบคลุมถึงบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
3. มาตรการเสริมสภาพคล่องเพื่อดูแลเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน เนื่องจากนักลงทุนบางส่วนได้เทขายตราสารหนี้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้เอกชน ซึ่งเป็นช่องทางการออมที่สำคัญของประชาชนและการระดมทุน ธปท. ซึ่งกระทรวงการคลังเห็นควรจัดตั้งกองทุนเสริมสภาพคล่องตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน เพื่อเป็นแหล่งเงินสำรองชั่วคราวสำหรับเข้าไปซื้อตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทที่มีคุณภาพดีที่มีตราสารหนี้ครบกำหนดชำระในช่วงปี 2563–2564
ทั้งนี้บริษัทที่ขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนฯ จะต้องชำระอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราตลาด ต้องระดมทุนส่วนใหญ่ได้จากแหล่งเงินทุนอื่น เช่น การกู้เงินธนาคารพาณิชย์หรือการเพิ่มทุนต้องมีแผนการจัดหาทุนในระยะยาวที่ชัดเจน รวมทั้งต้องผ่านเกณฑ์และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำกับกองทุนกำหนด
4. ลดเงินนำส่ง FIDF ของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์(สถาบันการเงิน) เพื่อลดภาระดอกเบี้ยเงินกู้ของภาคธุรกิจและประชาชน โดยปรับลดอัตรานำส่งเงินสมทบกองทุนฟื้นฟูฯ (Financial Institutions Development Fund: FIDF) จากเดิมอัตราร้อยละ 0.46 เหลือร้อยละ 0.23 ของฐานเงินฝากเป็นระยะเวลา 2 ปี เพื่อให้สถาบันการเงินนำไปปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มเติมให้กับประชาชนและภาคธุรกิจในทันที
ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวจะช่วยดูแลประชาชนและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งช่วยรักษาเสถียรภาพของตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนและระบบการเงินของประเทศให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ยังสามารถดำเนินการได้ รวมทั้ง 1688 ตลาดค้าส่งของจีนที่เริ่มฟื้นฟูทำให้ภาคการผลิตสามารถดำเนินการต่อไปได้ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดีสำหรับธุรกิจ SMEs ในช่วงวิกฤตเวลานี้ อ่านต่อที่ เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวแล้วจาก COVID-19 : กรณีศึกษาของมณฑลกวางตุ้ง
Red Logistics บริษัทขนส่งที่ให้บริการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนเพียงกิโลกรัมละ 29 บาท เดินพิธีการศุลกากรเบ็ดเสร็จด้วยเอกสารครบถ้วน ถูกต้อง สามารถจัดทำ Form E สำหรับลดหย่อนภาษีนำเข้าต่ำสุด 0% พร้อมจัดส่งและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการทั่วประเทศ
ที่มา: สมาคมชิปปิ้งแห่งประเทศไทย